Week2


Week
วัน
เป้าหมาย
กิจกรรม
สื่อ/อุปกรณ์
2
จันทร์
ขั้นเตรียม :
ฝึกการมีสติ รู้ตัว
กิจกรรม : ของเล่นในวัยเด็ก
ขั้นเตรียม : (5 นาที)
ครูและนักเรียนนั่งเป็นวงกลม ไหว้ทักทายซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม 
- นักเรียนค่อยๆ ปิดเปลือกตาลงเบาๆ รับรู้ลมหายใจของตัวเอง สัก 2-3 ลมหายใจ
ครูกระตุ้นการเรียนรู้ของสมองด้วย Brain Gym (แบบแตะส่วนต่างๆของร่างกาย)
- ของเล่น (ตุ๊กตา หุ่นยนต์)
- ตะกร้าอุปกรณ์ (กระดาษครึ่ง A4 และปากกา)
- เพลงสปาผ่อนคลาย

ขั้นกิจกรรม :
- ฝึกการมีสติ ใคร่ครวญตัวเอง
- เคารพ นอบน้อม ต่อตนเองและสรรพสิ่ง
- เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆ กับตนเอง
ขั้นกิจกรรม : (15 นาที)
ครูแนะนำอุปกรณ์ (ตุ๊กตา หุ่นยนต์) โดยครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด
      “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?”
      รู้สึกอย่างไรบ้าง?”
      “ทั้งสองสิ่งนี้เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง?”
-         ครูส่งตะกร้าอุปกรณ์ นักเรียนหยิบคนละ 1 ชุด (กระดาษครึ่ง A4 1 แผ่น ปากา 1 ด้าม) โดยส่งทางด้านใดด้านหนึ่งจนครบทุกคน คนสุดท้ายจะวางตะกร้าอุปกรณ์ไว้ด้านหลังตนเอง ก่อนจะรับ – ส่งอุปกรณ์ทุกคนจะไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม เมื่อได้รับอุปกรณ์แล้วทุกคนจะวางไว้ด้านหน้าของตนเอง
-         ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด
        ในวัยเด็ก เหตุการณ์ใดที่นักเรียนนึกถึงและเกี่ยวข้องกับของเล่นตุ๊กตาหรือหุ่นยนต์
        “ถ้าในตอนนี้นักเรียนเลือกซื้อของเล่นได้ 1 อย่าง จะเลือกซื้ออะไรเพราะเหตุใด
- นักเรียนวาดภาพและเขียนเพื่อสื่อความคิดและมุมมองของตนเอง
- นักเรียนนำเสนอผลงาน
- นักเรียนเก็บผลงานและอุปกรณ์ใส่ตะกร้า โดยเริ่มจากคนที่มีตะกร้าอยู่ด้านหลัง และส่งต่อให้เพื่อนทีละคนจนมาถึงคุณครู ก่อนที่จะรับ – ส่งอุปกรณ์ทุกคนจะไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม
ขั้นจบ :
เคารพคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
ขั้นจบ  : (5 นาที)
- ครูพูดเสริมแรง ชื่นชม Empower ในความตั้งใจของทุกคน
- ครูและนักเรียนทุกคนไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกัน
อังคาร
ขั้นเตรียม :
ฝึกสติกลับมารู้ตัว
จดจ่อกับสิ่งที่ทำ
รับรู้ลมหายใจ
กิจกรรม : โยคะ
ขั้นเตรียม  : (3นาที)
- นักเรียนยืนเป็นแถวหน้ากระดาน สามแถว สลับฟันปลา ห่างกันหนึ่งช่วงแขนไหว้ทักทายซึ่งกันและกัน
- นักเรียนค่อยๆหลับตา กำกับสติ รับรู้ลมหายใจที่ปลายจมูก ประมาณ 4-5 ลมหายใจ
เพลงสปาผ่อนคลาย

ขั้นกิจกรรม :
ฝึกการเคลื่อนไหว การมีสติ รับรู้ลมหายใจ
ขั้นกิจกรรม  : (15 นาที)
- ครูให้นักเรียนยืนในท่าเตรียม แยกเท้าห่างกันเล็กน้อย ขาทั้ง 2 ข้างขนานกับหัวไหล่
- ครูเริ่มท่าโยคะ ดังต่อไปนี้
ท่ายืน   
·     ท่าไหว้พระอาทิตย์
·     ท่าภูเขา
·     ท่าต้นไม้
·     ท่าเก้าอี้ 2 ขา
·     ท่าเก้าอี้ขาเดียว
ท่านั่ง  
·     ท่าบิดตัว
·     ท่าเต่า
·     ท่าหงส์
ท่านอน   
·     ท่าจระเข้
·     ท่าตั๊กแตน
·     ท่างูใหญ่
·     ท่าปลาดาว
ขั้นจบ :
เคารพคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
ขั้นจบ : (5 นาที)
- ครูพูดเสริมแรง ชื่นชม Empower ในความตั้งใจของทุกคน
- ครูและนักเรียนทุกคนไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกัน
พุธ
ขั้นเตรียม  :
ฝึกการมีติการรู้ตัว

กิจกรรม : ศิลป์จากลวดเสียบกระดาษ
ขั้นเตรียม :  (5 นาที)
- ครูและนักเรียนนั่งเป็นวงกลม ไหว้ทักทายซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม
- นักเรียนหลับตา กำกับสติ รับรู้ลมหายใจที่ปลายจมูก ประมาณ 4-5 ลมหายใจ จากนั้นค่อยๆ ลืมตา
- ครูกระตุ้นด้วย Brain Gym 2 ท่า สลับซ้ายขวา 10 ครั้ง (ท่างูเห่า/ สุนัขจิ้งจอก และ ท่าขนมจีบ/ถาดตัวแอล)
- ตะกร้าอุปกรณ์ (กระดาษครึ่ง A4 ติดลวดเสียบกระดาษและ ปากกา)
- เพลงสปาผ่อนคลาย
ขั้นกิจกรรม : 
-      สร้างสรรค์จินตนาการจากลวดเสียบกระดาษ
-        ฝึกสติ จดจ่อกับสิ่งที่ทำ
-        เชื่อมโยงและมองเห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับสิ่งต่างๆรอบๆตัว
-        สื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ขั้นกิจกรรม :  (15 นาที)
-         ครูเล่าเรื่อง ลวดเสียบกระดาษให้นักเรียนฟัง “ชายคนหนึ่งเก็บลวดได้ในขณะที่นั่งรอรถ เขาหยิบขึ้นมาพร้อมกับบิดไป บิดมา ทันใดนั้นรถมาเขาวิ่งขึ้นรถ พอไปถึงที่ทำงาน เขาเห็นเอกสารวางอยู่จนเต็มโต๊ะ เขาวางกระเป๋าลง ทำให้ลวดเส้นนั้นหล่นลงมา                                                  
-         ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด
      “นักเรียนคิดว่าชายคนนั้นจะทำอย่างต่อไป?”
      “เอกสารกับลวดเสียบกระดาษ เกี่ยวข้องกันอย่างไรบ้าง?”
-         ครูแนะนำอุปกรณ์  (กระดาษครึ่ง A4 1 แผ่นลวดเสียบกระดาษและ ปากกา 1 ด้าม) โดยการตั้งคำถาม นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?”   
-         ครูส่งตะกร้าอุปกรณ์ นักเรียนหยิบคนละ 1 ชุด (กระดาษครึ่ง A4 1 แผ่น ปากกา 1 ด้าม) โดยส่งทางด้านใดด้านหนึ่งจนครบทุกคน คนสุดท้ายจะวางตะกร้าอุปกรณ์ไว้ด้านหลังตนเอง ก่อนจะรับ – ส่งอุปกรณ์ทุกคนจะไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม เมื่อได้รับอุปกรณ์แล้วทุกคนจะวางไว้ด้านหน้าของตนเอง
-         ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนต่อเติมภาพจากลวดเสียบกระดาษให้เป็นสิ่งที่มีชีวิต หรือไม่มีชีวิตอย่างไรให้มีความหมาย และสร้างสรรค์?”
-         นักเรียนต่อเติมภาพจากจิตนาการ
-         นักเรียนนำเสนอผลงาน
-         นักเรียนเก็บผลงานและอุปกรณ์ใส่ตะกร้า โดยเริ่มจากคนที่มีตะกร้าอยู่ด้านหลัง และส่งต่อให้เพื่อนทีละคนจนมาถึงคุณครู ก่อนจะรับ – ส่งอุปกรณ์ทุกคนจะไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม
ขั้นจบ  :
เคารพคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
ขั้นจบ : ( 5 นาที )
- ครูพูดเสริมแรง ชื่นชม Empower ในความตั้งใจของทุกคน
- ครูและนักเรียนทุกคนไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกัน
พฤหัสบดี
ขั้นเตรียม  :
ฝึกการมีสติ รู้ตัว
กิจกรรม : นิทานเซน เรื่อง เงินซื้อปัญญา
ขั้นเตรียม : (5 นาที)
- ครูและนักเรียนนั่งเป็นวงกลม ไหว้ทักทายซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม
- นักเรียนหลับตา กำกับสติ รับรู้ลมหายใจที่ปลายจมูก ประมาณ 4-5 ลมหายใจ จากนั้นค่อยๆ ลืมตา
- ครูกระตุ้นการเรียนรู้ของสมองด้วย Brain Gym 2 ท่า สลับซ้ายขวา 10 ครั้ง (ท่านิ้วโป้ง/ นิ้วก้อย และ ท่า ขนมจีบ/ถาดตัวแอล)
- นิทานเซน เรื่อง เงินซื้อปัญญา
- ตะกร้าอุปกรณ์ (กระดาษครึ่ง A4 และ ปากกา)
- เพลงสปาผ่อนคลาย
 ขั้นกิจกรรม  :
- มีสติ จดจ่อกับสิ่งที่ฟัง
- เห็นความเชื่อมโยงเรื่องราวของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับในความคิดเห็นและมุมมองที่แตกต่าง
- เคารพ นอบน้อมต่อสรรพสิ่ง
ขั้นกิจกรรม  : (15 นาที)
-         ครูเล่า 1นิทานเซน เรื่อง “เงินซื้อปัญญา” ให้นักเรียนฟัง (ไม่บอกชื่อเรื่อง) โดยเล่าถึงตอนที่ชายคนนั้นกลับไปคิดที่บ้านว่าจะซื้อปัญญาหรือไม่
-         ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ในเรื่องมีตัวละครใดบ้าง?” มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นบ้าง”
-         ครูส่งตะกร้าอุปกรณ์ นักเรียนหยิบคนละ 1 ชุด (กระดาษครึ่ง A4 1 แผ่น ปากกา 1 ด้าม) โดยส่งทางด้านใดด้านหนึ่งจนครบทุกคน คนสุดท้ายจะวางตะกร้าอุปกรณ์ไว้ด้านหลังตนเอง ก่อนจะรับ – ส่งอุปกรณ์ทุกคนจะไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม เมื่อได้รับอุปกรณ์แล้วทุกคนจะวางไว้ด้านหน้าของตนเอง
-         ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ถ้านักเรียนเป็นชายคนนั้น จะซื้อปัญญาหรือไม่ คิดว่าจะมีเหตุการณ์ใดทำให้ซื้อและไม่ซื้ออย่างไรบ้าง?” “นักเรียนจะตั้งชื่อเรื่องนี้ว่าอย่างไร?”
-         นักเรียนเขียนเพื่อสื่อความคิดและมุมมอง และตั้งชื่อเรื่องนี้
-         นักเรียนนำเสนอผลงาน (ภาพและความคิดจากมุมมองของตนเอง)
-         ครูเล่านิทานเซน เรื่อง “เงินซื้อปัญญา” ต่อจนตอนจบ
-         นักเรียนเก็บผลงานและอุปกรณ์ใส่ตะกร้า โดยเริ่มจากคนที่มีตะกร้าอยู่ด้านหลัง และส่งต่อให้เพื่อนทีละคนจนมาถึงคุณครู ก่อนจะรับ – ส่งอุปกรณ์ทุกคนจะไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม
ขั้นจบ  :
เคารพคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
ขั้นจบ :  ( 5 นาที )
- ครูพูดเสริมแรง ชื่นชม Empower ในความตั้งใจของทุกคน
- ครูและนักเรียนทุกคนไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกัน
ศุกร์
ขั้นเตรียม :
ฝึกการมีสติ รู้ตัว
กิจกรรม : เสียงที่ฉันได้ยิน
ขั้นเตรียม : (5 นาที)
- นักเรียนนั่งเป็นวงกลม ทักทาย เคารพซึ่งกันและกันอย่างนอบน้อม
- นักเรียนจับมือเพื่อนคนข้างๆ จากนั้นค่อยๆปิดเปลือกตาลงเบาๆ รับรู้ลมหายใจของตัวเอง สัก 1 นาที
- ครูกระตุ้นการเรียนรู้ด้วย Brain Gym (แบบใช้หัวแม่มือในการกดสัมผัสปลายนิ้วทุกนิ้วอย่างมีสติ)
- เพลง รักอยู่หนใด
- เพลงกอดสุดท้าย
- เพลงบรรเลงไวโอลิน เศร้าเดียวดาย
- ชุดอุปกรณ์ (กระดาษครึ่ง A4 และปากกา)
- เพลงสปาผ่อนคลาย

ขั้นกิจกรรม :
- ฝึกการมีสติและใคร่ครวญการสัมผัสทางการได้ยินและความรู้สึก
- รับรู้และเท่าทันเหตุการณ์ที่เป็นปัจจุบัน
-        จดจ่อและมีสมาธิอยู่กับสิ่งที่ทำ
ขั้นกิจกรรม : (15 นาที)
- ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องบทเพลงที่กำลังฮิตในปัจจุบัน
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนรู้สึกอย่างไรบ้างเมื่อได้ฟังเพลง?”, “นักเรียนได้อะไรบ้างจากการฟังเพลง?”
- ครูส่งตะกร้าอุปกรณ์ นักเรียนหยิบคนละ 1 ชุด (กระดาษครึ่ง A4 1 แผ่น ปากา 1 ด้าม) โดยส่งทางด้านใดด้านหนึ่งจนครบทุกคน คนสุดท้ายจะวางตะกร้าอุปกรณ์ไว้ด้านหลังตนเอง ก่อนจะรับ – ส่งอุปกรณ์ทุกคนจะไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม เมื่อได้รับอุปกรณ์แล้วทุกคนจะวางไว้ด้านหน้าของตนเอง
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด นักเรียนฟังเพลงดังต่อไปนี้แล้วเขียนความรู้สึกหลังจากที่ได้ฟังเพลงนั้นลงบนกระดาษ
1. เพลงรักอยู่หนใด ขับร้องโดยบัว พิมพ์ มด (โดยไม่ต้องเปิดจบเพลง)
2. เพลงกอดสุดท้าย ขับร้องโดยแน็ค (โดยไม่ต้องเปิดจบเพลง)
3. เพลงบรรเลงไวโอลิน เศร้าเดียวดาย (โดยไม่ต้องเปิดจบเพลง)
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด
 นักเรียนคิดว่าเพลงทั้ง 3 เพลงที่ได้ฟังเหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง?,
“ถ้านักเรียนไม่ได้ฟังเพลงทั้ง 3 เพลงนี้ นักเรียนคิดว่าเสียงมีส่วนต่อความรู้สึกเราหรือไม่? นักเรียนคิดว่าเสียงที่นักเรียนได้ยินเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงหรือไม่ เพราะเหตุใด”
ขั้นจบ :
เคารพคุณค่าตัวเองและผู้อื่น
ขั้นจบ : (5 นาที)
- ครูพูดเสริมแรงชื่นชม Empowerในความตั้งใจของทุกคน
- ครูและนักเรียนทุกคนไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกัน




หมายเหตุ
1นิทานเซน เรื่อง เงินแลกปัญญา
                ครั้งหนึ่ง ขณะที่ชายคนหนึ่งกำลังซ่อมกำแพงที่ถล่มลงมา หลังจากฝนตกลงมาอย่างหนัก เขาได้ขุดพบทองคำก้อนใหญ่ ก้อนหนึ่ง เลยกลายเป็นเศรษฐีในชั่วพริบตา ชายคนนั้นรู้ตัวเองดีว่า ตัวเองค่อนข้างโง่ จึงไปปรึกษากับพระอาจารย์ท่านหนึ่ง พระอาจารย์แนะนำว่า เจ้ามีเงิน ผู้อื่นมีปัญญา เจ้าทำไมไม่ใช้เงินไปซื้อปัญญาของคนอื่น
                ชายคนนั้นจึงเข้าไปในเมืองเจอพระรูปหนึ่ง
                ชายนั้นจึงถามพระรูปนั้นว่า ท่านจะขายปัญญาของท่านให้แก่ข้าพเจ้าได้หรือเปล่า 
                พระนั้นตอบว่า "ปัญญาของอาตมาแพงนะ เจ้าสู้ไหวหรือ?”
                ชายนั้นตอบ ขอเพียงซื้อปัญญาได้แพงเท่าไหร่ ข้าพเจ้าก็สู้
เมื่อเจ้าพบสิ่งที่ยากลำบากใจ เจ้าอย่าเพิ่งเร่งรีบตัดสินใจ ให้เดินไปข้างหน้า 3 ก้าว หลังจากนั้นเดินถอยไปข้างหลัง 3 ก้าว ทำซ้ำอย่างนี้ อีก 3 ครั้ง เจ้าก็จะได้ปัญญา
ปัญญา ง่ายอย่างนี้หรือ?” ชายคนนั้นทำท่าไม่เชื่อและลังเล กลัวพระรูปนั้นจะหลอกเอาเงิน
พระรูปนั้นอ่านสายตานั้นออก จึงพูดว่า เจ้ากลับไปก่อน ถ้าหากเจ้ารู้สึกว่าปัญญาของข้าพเจ้าไม่คุ้มกับเงินเหล่านี้ เจ้าก็ไม่ต้องกลับมาแล้ว หากเจ้าคิดว่าคุ้ม เจ้าค่อยกลับมา
เมื่อกลับถึงบ้านในตอนค่ำมืด ชายคนนั้นเห็นเหมือนกับภรรยา กำลังนอนอยู่กับคนอื่น จึงถืออีโต้เข้าไปหวังจะฆ่าคนนั้น แต่ทันใดนั้นนึกถึงคำพูดของพระรูปนั้นในตอนกลางวันจึงเดินไปข้างหน้า 3 ก้าว เดินถอยหลัง 3 ก้าว ทำซ้ำอีก 3 ครั้ง ขณะที่กำลังเดินอยู่นั้น คนที่นอนอยู่กับภรรยาของเขาพูดขึ้นว่า ลูกเอ๊ย ดึกๆ อย่างนี้ทำอะไรอยู่นั่น?” ชายคนนั้นเมื่อรู้ว่าเป็นเสียงมารดาของตนเอง จึงคิดในใจว่า หากกลางวันนี้ไม่ซื้อปัญญามา วันนี้คงจะฆ่าแม่ของตนเองแล้ว วันรุ่งขึ้นจึงรีบนำเงินไปถวายพระรูปนั้นแต่เช้า



ตัวอย่างกิจกรรมวันอังคาร
ขั้นเตรียม




ขั้นกิจกรรม

 



 



 


 






ขั้นจบ





































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น