Week
|
วัน
|
เป้าหมาย
|
กิจกรรม
|
สื่อ/อุปกรณ์
|
3
|
จันทร์
|
ขั้นเตรียม :
ฝึกการมีสติ รู้ตัว
|
กิจกรรม : เวลาที่เหมาะสม
ขั้นเตรียม : (5 นาที)
- ครูและนักเรียนนั่งเป็นวงกลม
ไหว้ทักทายซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม
- ครูกระตุ้นการเรียนรู้ด้วย Brain Gym (สลับข้าง 5
จังหวะ 2 รอบ)
|
- ก้อนหินขนาดใหญ่ หินขนาดเล็ก ทราย น้ำ ขวดโหล
- ตะกร้าอุปกรณ์ (กระดาษครึ่ง A4 และปากกา)
- เพลงสปาผ่อนคลาย
|
ขั้นกิจกรรม :
- ฝึกการมีสติ ใคร่ครวญตัวเอง
- เคารพ นอบน้อม ต่อตนเองและสรรพสิ่ง
- เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆ กับตนเอง
- เปรียบเทียบสิ่งของกับการใช้เวลาได้ เช่น
หินก้อนใหญ่ คือ หน้าที่ที่ต้องทำประจำ น้ำ คือสิ่งที่เราอยากทำและต้องหาเวลาทำ
- สื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้
|
ขั้นกิจกรรม : (15 นาที)
- ครูแนะนำสื่อ (ก้อนหินขนาดใหญ่
หินขนาดเล็ก ทราย น้ำ)
โดยการตั้งคำถามกระตุ้นคิด
“นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?”
“นักเรียนจัดหมวดหมู่สิ่งเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง?”
“ถ้าให้ทั้งหมดนี้อยู่ด้วยกันนักเรียนจะเรียกว่าอย่างไร?”
- ครูใส่ก้อนหินขนาดใหญ่ลงไปในขวดโหล หินก้อนเล็ก ทราย และน้ำตามลำดับ
ขณะที่ใส่ลงไปในขวด ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด
“นักเรียนคิดว่าเต็มหรือยัง?”
- ครูส่งตะกร้าอุปกรณ์ นักเรียนหยิบคนละ 1 ชุด (กระดาษครึ่ง A4 1 แผ่น ปากกา 1 ด้าม)
โดยส่งทางด้านใดด้านหนึ่งจนครบทุกคน
คนสุดท้ายจะวางตะกร้าอุปกรณ์ไว้ด้านหลังตนเอง ก่อนจะรับ –
ส่งอุปกรณ์ทุกคนจะไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม เมื่อได้รับอุปกรณ์แล้วทุกคนจะวางไว้ด้านหน้าของตนเอง
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ถ้าเปรียบเทียบขวดโหลเป็นเวลา
นักเรียนคิดว่าสิ่งที่อยู่ในขวดโหลจะเป็นอะไรได้บ้าง เพราะอะไร”
- นักเรียนวาดภาพและเขียนเพื่อสื่อความคิดและมุมมองของตนเอง
- นักเรียนนำเสนอผลงาน
- นักเรียนเก็บผลงานและอุปกรณ์ใส่ตะกร้า
โดยเริ่มจากคนที่มีตะกร้าอยู่ด้านหลัง และส่งต่อให้เพื่อนทีละคนจนมาถึงคุณครู ก่อนจะรับ –
ส่งอุปกรณ์ทุกคนจะไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม
|
|||
ขั้นจบ :
เคารพคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
|
ขั้นจบ : (5 นาที)
- ครูพูดเสริมแรง ชื่นชม Empower ในความตั้งใจของทุกคน
-
ครูและนักเรียนทุกคนไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกัน
|
|||
อังคาร
|
ขั้นเตรียม :
ฝึกสติกลับมารู้ตัว
จดจ่อกับสิ่งที่ทำ รับรู้ลมหายใจ |
กิจกรรม : โยคะ
ขั้นเตรียม : (3นาที)
- นักเรียนยืนเป็นแถวหน้ากระดาน 3 แถว สลับฟันปลา ห่างกันหนึ่งช่วงแขนไหว้ทักทายซึ่งกันและกัน
- นักเรียนค่อยๆหลับตา กำกับสติ รับรู้ลมหายใจที่ปลายจมูก ประมาณ 4-5
ลมหายใจ
|
เพลงสปาผ่อนคลาย
|
|
ขั้นกิจกรรม :
ฝึกการเคลื่อนไหว การมีสติ รับรู้ลมหายใจ
|
ขั้นกิจกรรม : (15 นาที)
- ครูให้นักเรียนยืนในท่าเตรียม แยกเท้าห่างกันเล็กน้อย ขาทั้ง 2 ข้างขนานกับหัวไหล่
- ครูเริ่มท่าโยคะ ดังต่อไปนี้
ท่ายืน
· ท่าไหว้พระอาทิตย์
· ท่าต้นไม้
· ท่ากรงล้อ
· ท่าเก้าอี้ขาเดียว
ท่านั่ง
· ท่ากล่อมเด็ก
· ท่าผีเสื้อ
ท่านอน
· ท่าจระเข้
· ท่างูใหญ่
· ท่าตั๊กแตน
· ท่าปลาดาว
|
|||
ขั้นจบ :
เคารพคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
|
ขั้นจบ : (5 นาที)
- ครูพูดเสริมแรง ชื่นชม Empower ในความตั้งใจของทุกคน
-
ครูและนักเรียนทุกคนไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกัน
|
|||
พุธ
|
ขั้นเตรียม :
ฝึกการมีติ รู้ตัว
|
กิจกรรม : สามมิติสร้างได้
ขั้นเตรียม : (5 นาที)
- ครูและนักเรียนนั่งเป็นวงกลม
ไหว้ทักทายซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม
- นักเรียนหลับตา กำกับสติ
รับรู้ลมหายใจที่ปลายจมูก ประมาณ 4-5 ลมหายใจ จากนั้นค่อยๆ ลืมตา
- ครูกระตุ้นด้วย Brain Gym สลับกัน
10 ครั้ง (นิ้วโป้งกับนิ้วก้อย และ กอหญ้ากับกรรไกร)
|
- ตะกร้าอุปกรณ์(กระดาษรูปภาพ 2 มิติ และปากกา)
- เพลงบรรเลงผ่อนคลาย
![]() |
|
ขั้นกิจกรรม :
- สร้างสรรค์จินตนาการจากภาพ 2 มิติเป็นภาพ 3 มิติ
- ฝึกสติ จดจ่อกับสิ่งที่ทำ
- เชื่อมโยงและมองเห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับสิ่งต่างๆรอบๆตัว
- สื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้
|
ขั้นกิจกรรม : (15 นาที)
- ครูแนะนำสื่อ (ภาพ 2 มิติ) โดยการตั้งคำถามกระตุ้นคิด
“นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?”
“สามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง
ทำอะไรไม่ได้บ้าง”
- ครูส่งตะกร้าอุปกรณ์ นักเรียนหยิบคนละ 1 ชุด (กระดาษครึ่ง A4 1 แผ่น ปากกา 1 ด้าม)
โดยส่งทางด้านใดด้านหนึ่งจนครบทุกคน
คนสุดท้ายจะวางตะกร้าอุปกรณ์ไว้ด้านหลังตนเอง ก่อนจะรับ –
ส่งอุปกรณ์ทุกคนจะไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม เมื่อได้รับอุปกรณ์แล้วทุกคนจะวางไว้ด้านหน้าของตนเอง
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนจะสร้างภาพ 3 มิติได้อย่างไรบ้าง?”
- นักเรียนวาดภาพเพื่อสื่อความคิดและมุมมอง
- นักเรียนนำเสนอผลงาน (ภาพและความคิดจากมุมมองของตนเอง)
-
นักเรียนเก็บผลงานและอุปกรณ์ใส่ตะกร้า
โดยเริ่มจากคนที่มีตะกร้าอยู่ด้านหลัง และส่งต่อให้เพื่อนทีละคนจนมาถึงคุณครู ก่อนจะรับ –
ส่งอุปกรณ์ทุกคนจะไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม
|
|||
ขั้นจบ :
เคารพคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
|
ขั้นจบ : (5 นาที)
- ครูพูดเสริมแรง ชื่นชม Empower ในความตั้งใจของทุกคน
-
ครูและนักเรียนทุกคนไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกัน
|
|||
พฤหัสบดี
|
ขั้นเตรียม :
ฝึกการมีสติ รู้ตัว
|
กิจกรรม : เรื่องเล่า “คนหาบน้ำ”
ขั้นเตรียม : (5 นาที)
- ครูและนักเรียนนั่งเป็นวงกลม
ไหว้ทักทายซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม
- ครูกระตุ้นการเรียนรู้ด้วยการกำกับสติ
ร้องเพลง “ความเกรงใจเป็นสมบัติของผู้ดี” พร้อมแสดงท่าทางประกอบ 2 รอบ (แบบมีเสียงและไม่มีเสียง)
|
- เรื่องเล่า “คนหาบน้ำ”
- ตะกร้าอุปกรณ์ (กระดาษครึ่ง A4 และปากกา)
- เพลงสปาผ่อนคลาย
|
|
ขั้นกิจกรรม
:
- มีสติ จดจ่อกับสิ่งที่ฟัง
- เห็นความเชื่อมโยงเรื่องราวของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับในความคิดเห็นและมุมมองที่แตกต่าง
- เคารพ นอบน้อมต่อสรรพสิ่ง
|
ขั้นกิจกรรม : (15 นาที)
- ครูเล่า 1 เรื่องเล่า “คนหาบน้ำ” ให้นักเรียนฟัง (ไม่บอกชื่อเรื่อง)
โดยเล่าถึงตอนที่ถังน้ำรั่วได้บ่นน้อยใจ
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด
“ในเรื่องมีตัวละครในบ้าง?”
“ทำไมถังน้ำแตกจึงรู้สึกเสียใจมาก?”
“ ถ้านักเรียนเป็นถังน้ำ
ดี จะบอกถังน้ำแตกอย่างไร?”
- ครูเล่าเรื่องราวต่อจนจบ
- ครูส่งตะกร้าอุปกรณ์ นักเรียนหยิบคนละ 1 ชุด (กระดาษครึ่ง A4 1 แผ่น ปากกา 1 ด้าม)
โดยส่งทางด้านใดด้านหนึ่งจนครบทุกคน
คนสุดท้ายจะวางตะกร้าอุปกรณ์ไว้ด้านหลังตนเอง ก่อนจะรับ –
ส่งอุปกรณ์ทุกคนจะไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม เมื่อได้รับอุปกรณ์แล้วทุกคนจะวางไว้ด้านหน้าของตนเอง
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “เปิดเรียนมาแล้ว 2 สัปดาห์ใน Q2 นักเรียนคิดว่าสิ่งใดที่ตนเองทำดีแล้ว และสิ่งใดควรเพิ่มเติมอย่างไร?”
- นักเรียนเขียนเพื่อสื่อความคิดและมุมมอง
- นักเรียนนำเสนอผลงาน (ภาพและความคิดจากมุมมองของตนเอง)
- นักเรียนเก็บผลงานและอุปกรณ์ใส่ตะกร้า
โดยเริ่มจากคนที่มีตะกร้าอยู่ด้านหลัง และส่งต่อให้เพื่อนทีละคนจนมาถึงคุณครู ก่อนจะรับ –
ส่งอุปกรณ์ทุกคนจะไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม
|
|||
ขั้นจบ :
เคารพคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
|
ขั้นจบ : (5 นาที)
- ครูพูดเสริมแรง ชื่นชม Empower ในความตั้งใจของทุกคน
-
ครูและนักเรียนทุกคนไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกัน
|
|||
ศุกร์
|
ขั้นเตรียม :
ฝึกการมีสติรู้ตัว
|
กิจกรรม : กายสัมผัส
ขั้นเตรียม : (5 นาที)
- ครูและนักเรียนนั่งเป็นวงกลม
ไหว้ทักทายซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม
- นักเรียนหลับตา
จับมือเพื่อนที่อยู่ข้างๆ ค่อยๆ หลับตา รับรู้ลมหายใจที่ปลายจมูก ประมาณ 4-5 ลมหายใจ แล้วลืมตาช้าๆ
- ครูกระตุ้นการเรียนรู้ด้วย Brain Gym 2 ท่า สลับกัน 10
ครั้ง (กอหญ้ากับกระบือ และ กระต่ายกับงูใหญ่)
|
-
กล่องอุปกรณ์ปิดไม่ให้มองเห็นทำช่องสำหรับล้วง ใส่ ตุ๊กตา ลูกแก้ว ลูกปิงปอง
-
เพลงสปาผ่อนคลาย
|
|
ขั้นกิจกรรม :
- กำกับสติ จดจ่อกับสิ่งที่ทำ
- ใคร่ครวญ เห็นความเชื่อมโยง
และมองเห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับสิ่งต่างๆรอบๆตัว
- เห็นความมีอยู่จริงของสิ่งของนั้น ชื่อสิ่งของคือสิ่งที่เราสมมุติขึ้นมาเพื่อให้เข้าใจตรงกัน
- ฝึกการใช้สัมผัสต่างๆ ในร่างกาย ได้แก่ หู กาย และตา
|
ขั้นกิจกรรม : (15 นาที)
- ครูแนะนำสื่อ (กล่องอุปกรณ์ ใส่ ตุ๊กตา ลูกแก้ว ลูกปิงปอง)โดยการเขย่ากล่องอุปกรณ์และคำถามกระตุ้นคิด
“นักเรียนได้ยินเสียงอะไรบ้าง คิดว่ามีอะไรอยู่ในกล่องอะไรบ้าง?”
- ครูส่งกล่องสื่อให้นักเรียนล้วงจับทีคนละ 10 วินาที
โดยครูส่งจากทางด้านซ้ายมือจนครบทุกคน ก่อนจะรับ –
ส่งอุปกรณ์ทุกคนจะไหว้ของคุณซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “จากการใช้กายสัมผัสนักเรียนคิดว่ามีอะไรบ้าง
เพราะเหตุใด?”
- ครูหยิบสิ่งที่อยู่ในกล่องออกมาทีละชิ้น
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด
“จากการครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “จากการฟัง กายสัมผัสและตา
ทำไมเราจึงบอกชื่อสิ่งของไม่เหมือนกัน?”
“นักเรียนคิดว่า
สัมผัสใดสามารถบอกคำตอบที่แท้จริงได้”
“นักเรียนคิดว่าแท้จริงแล้ว
สิ่งของที่เราเรียนชื่อมีสิ่งที่มีอยู่จริงหรือเราเพียงสมมุติขึ้นมาเท่านั้น?”
|
|||
ขั้นจบ :
เคารพคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
|
ขั้นจบ : (5 นาที)
- ครูพูดเสริมแรง ชื่นชม Empower ในความตั้งใจของทุกคน
- ครูและนักเรียนทุกคนไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกัน
|
หมายเหตุ
1 เรื่องเล่า คนหาบน้ำ
ชายจีนคนหนึ่งแบกถังน้ำสองใบไว้บนบ่า เพื่อไปตักน้ำที่ริมลำธาร ถังน้ำใบหนึ่งมีรอยแตก
ในขณะที่อีกใบหนึ่งไร้รอยตำหนิและสามารถบรรจุน้ำกลับมาได้เต็มถัง
แต่ด้วยระยะทางอันยาวไกล จากลำธารกลับสู่บ้านจึงทำให้น้ำที่อยู่ในถังใบที่มีรอยแตก
เหลืออยู่เพียงครึ่งเดียว
เหลืออยู่เพียงครึ่งเดียว
...........
เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ดำเนินมาเป็นเวลา 2 ปีเต็ม ที่คนตักน้ำสามารถตักน้ำกลับมาบ้านได้หนึ่งถังครึ่ง ซึ่งแน่นอนว่า ถังน้ำใบที่ไม่มีตำหนิ
จะรู้สึกภาคภูมิใจในผลงานเป็นอย่างยิ่ง ในขณะเดียวกันถังน้ำที่มีรอยแตกก็รู้สึกอับอายต่อความบกพร่องของตัวเอง มันรู้สึกโศกเศร้า
กับการที่มันสามารถทำหน้าที่ได้เพียงครึ่งเดียวของจุดประสงค์ที่มันถูกสร้างขึ้นมา
เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ดำเนินมาเป็นเวลา 2 ปีเต็ม ที่คนตักน้ำสามารถตักน้ำกลับมาบ้านได้หนึ่งถังครึ่ง ซึ่งแน่นอนว่า ถังน้ำใบที่ไม่มีตำหนิ
จะรู้สึกภาคภูมิใจในผลงานเป็นอย่างยิ่ง ในขณะเดียวกันถังน้ำที่มีรอยแตกก็รู้สึกอับอายต่อความบกพร่องของตัวเอง มันรู้สึกโศกเศร้า
กับการที่มันสามารถทำหน้าที่ได้เพียงครึ่งเดียวของจุดประสงค์ที่มันถูกสร้างขึ้นมา
...............
หลังจากเวลา 2 ปี ที่ถังน้ำที่มีรอยแตกมองว่า เป็นความล้มเหลวอันขมขื่น วันหนึ่งที่ข้างลำธาร มันได้พูดกับคนตักน้ำว่า ข้ารู้สึกอับอายตัวเอง เป็นเพราะรอยแตกที่ด้านข้างของตัวข้า ทำให้น้ำที่อยู่ข้างในไหลออกมา ตลอดเส้นทางที่กลับไปยังบ้านของท่าน'
หลังจากเวลา 2 ปี ที่ถังน้ำที่มีรอยแตกมองว่า เป็นความล้มเหลวอันขมขื่น วันหนึ่งที่ข้างลำธาร มันได้พูดกับคนตักน้ำว่า ข้ารู้สึกอับอายตัวเอง เป็นเพราะรอยแตกที่ด้านข้างของตัวข้า ทำให้น้ำที่อยู่ข้างในไหลออกมา ตลอดเส้นทางที่กลับไปยังบ้านของท่าน'
.....................
คนตักน้ำตอบว่า 'เจ้าเคยสังเกตหรือไม่ว่า มีดอกไม้เบ่งบานอยู่ตลอดเส้นทางในด้านของเจ้า แต่กลับไม่มีดอกไม้อยู่เลยในอีกด้านหนึ่ง
คนตักน้ำตอบว่า 'เจ้าเคยสังเกตหรือไม่ว่า มีดอกไม้เบ่งบานอยู่ตลอดเส้นทางในด้านของเจ้า แต่กลับไม่มีดอกไม้อยู่เลยในอีกด้านหนึ่ง
..................
เพราะข้ารู้ว่า เจ้ามีรอยแตกอยู่ ข้าจึงได้หว่านเมล็ดพันธุ์ดอกไม้ ลงข้างทางเดินด้านของเจ้า และทุกวันที่เราเดินกลับ ... เจ้าก็เป็นผู้รดน้ำให้กับเมล็ดพันธุ์เหล่านั้น เป็นเวลา 2 ปี ที่ข้าสามารถที่จะเก็บดอกไม้สวย ๆ เหล่านั้น กลับมาแต่งโต๊ะกินข้าว ถ้าหากปราศจากเจ้าที่เป็นเจ้าแบบนี้แล้ว ... เราก็คงไม่อาจได้รับความสวยงามแบบนี้ได้'
ตัวอย่างกิจกรรม
เพราะข้ารู้ว่า เจ้ามีรอยแตกอยู่ ข้าจึงได้หว่านเมล็ดพันธุ์ดอกไม้ ลงข้างทางเดินด้านของเจ้า และทุกวันที่เราเดินกลับ ... เจ้าก็เป็นผู้รดน้ำให้กับเมล็ดพันธุ์เหล่านั้น เป็นเวลา 2 ปี ที่ข้าสามารถที่จะเก็บดอกไม้สวย ๆ เหล่านั้น กลับมาแต่งโต๊ะกินข้าว ถ้าหากปราศจากเจ้าที่เป็นเจ้าแบบนี้แล้ว ... เราก็คงไม่อาจได้รับความสวยงามแบบนี้ได้'
ตัวอย่างกิจกรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น