Week
|
วัน
|
เป้าหมาย
|
กิจกรรม
|
สื่อ/อุปกรณ์
|
5
|
จันทร์
|
ขั้นเตรียม :
ฝึกการมีสติ รู้ตัว
|
กิจกรรม : เราเป็นใคร
ขั้นเตรียม : (5 นาที)
- ครูและนักเรียนนั่งเป็นวงกลม
ไหว้ทักทายซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม
- นักเรียนค่อยๆ ปิดเปลือกตาลงเบาๆ
รับรู้ลมหายใจของตัวเอง สัก 2-3 ลมหายใจ
- ครูกระตุ้นการเรียนรู้ด้วย
Brain Gym สลับกัน 10 ครั้ง (แบบแตะสลับ
มือซ้ายแตะจมูกมือขวาแตะหูซ้าย-มือขวาแตะจมูกมือซ้ายแตะหูขวา)
|
- ตะกร้าอุปกรณ์
(กระดาษครึ่ง A4 และปากกา)
- เพลงสปาผ่อนคลาย
|
ขั้นกิจกรรม :
- ฝึกการมีสติ ใคร่ครวญตัวเอง
- เคารพ นอบน้อม ต่อตนเองและสรรพสิ่ง
- เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆ กับตนเอง
- มองเห็นตนเอง เข้าใจผู้อื่น มีจิตใหญ่
- สื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้
|
ขั้นกิจกรรม : (15 นาที)
-
ครูส่งตะกร้าอุปกรณ์ นักเรียนหยิบคนละ 1 ชุด (กระดาษครึ่ง A4 1 แผ่น ปากกา 1 ด้าม) โดยส่งทางด้านใดด้านหนึ่งจนครบทุกคน
คนสุดท้ายจะวางตะกร้าอุปกรณ์ไว้ด้านหลังตนเอง ก่อนจะรับ –
ส่งอุปกรณ์ทุกคนจะไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม เมื่อได้รับอุปกรณ์แล้วทุกคนจะวางไว้ด้านหน้าของตนเอง
-
นักเรียนเขียนชื่อตนเองไว้ตรงกลางกระดาษ
และวาดรูปคนสามคนไว้รอบนอก คือ คนแรกคือ คนที่เราอยากจะเป็น
คนที่สองคือ คนที่คนอื่นคิดว่าเราเป็น คนที่สามคือ ตัวเราที่เป็นเราจริงๆ
-
ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด
“สามคนนี้นักเรียนให้ความสำคัญกับคนใดมากที่สุด
เพราะเหตุใด?” “เราต้องทำตัวอย่างไรเมื่อเราต้องเจอคนเหล่านั้นอยู่เรื่อย ๆ”
- นักเรียนเขียนเพื่อสื่อความคิดและมุมมองของตนเอง
- นักเรียนนำเสนอผลงาน
- นักเรียนเก็บผลงานและอุปกรณ์ใส่ตะกร้า
โดยเริ่มจากคนที่มีตะกร้าอยู่ด้านหลัง และส่งต่อให้เพื่อนทีละคนจนมาถึงคุณครู ก่อนจะรับ –
ส่งอุปกรณ์ทุกคนจะไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม
|
|||
ขั้นจบ :
เคารพคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
|
ขั้นจบ : (5 นาที)
- ครูพูดเสริมแรง ชื่นชม Empower ในความตั้งใจของทุกคน
-
ครูและนักเรียนทุกคนไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกัน
|
|||
อังคาร
|
ขั้นเตรียม :
ฝึกสติกลับมารู้ตัว
จดจ่อกับสิ่งที่ทำ รับรู้ลมหายใจ |
กิจกรรม : โยคะ
ขั้นเตรียม : (3นาที)
- นักเรียนยืนเป็นวงกลม สลับฟันปลา
ห่างกันหนึ่งช่วงแขนไหว้ทักทายซึ่งกันและกัน
- นักเรียนค่อยๆหลับตา กำกับสติ รับรู้ลมหายใจที่ปลายจมูก ประมาณ 4-5
ลมหายใจ
|
เพลงสปาผ่อนคลาย
|
|
ขั้นกิจกรรม :
ฝึกการเคลื่อนไหว การมีสติ รับรู้ลมหายใจ
|
ขั้นกิจกรรม : (15 นาที)
- ครูให้นักเรียนยืนในท่าเตรียม แยกเท้าห่างกันเล็กน้อย ขาทั้ง 2 ข้างขนานกับหัวไหล่
- ครูเริ่มท่าโยคะ ดังต่อไปนี้
ท่ายืน
· ท่าไหว้พระอาทิตย์
· ท่าต้นไม้
· ท่ากรงล้อ
· ท่าเก้าอี้ขาเดียว
· ท่าเก้าอี้สองขา
ท่านั่ง
· ท่ากล่อมเด็ก
· ท่าผีเสื้อ
· ท่าเต่า
ท่านอน
· ท่าจระเข้
· ท่างูใหญ่
· ท่าตั๊กแตน
· ท่าปลาดาว
|
|||
ขั้นจบ :
เคารพคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
|
ขั้นจบ : (5 นาที)
- ครูพูดเสริมแรง ชื่นชม Empower ในความตั้งใจของทุกคน
-
ครูและนักเรียนทุกคนไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกัน
|
|||
พุธ
|
ขั้นเตรียม :
ฝึกการมีติ รู้ตัว
|
กิจกรรม : จมหรือลอย
ขั้นเตรียม : ( 5 นาที )
- ครูและนักเรียนนั่งเป็นวงกลม
ไหว้ทักทายซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม
- ครูกระตุ้นการเรียนรู้ด้วย Brain Gym สลับกัน
10 ครั้ง (นิ้วโป้งกับนิ้วก้อย และ กอหญ้ากับกรรไกร)
|
- ดินน้ำมัน
- กะละมังใส่น้ำ
- เพลงสปาผ่อนคลาย
|
|
ขั้นกิจกรรม :
-
สร้างสรรค์จินตนาการปั้นดินน้ำมัน
-
ฝึกสติ จดจ่อกับสิ่งที่ทำ
-
เชื่อมโยงและมองเห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับสิ่งต่างๆรอบๆตัว
-
สื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้
-
เชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์และการออกแบบเรือไม่จมน้ำ
|
ขั้นกิจกรรม : (15 นาที)
-
ครูเล่าเรื่อง ที่อยากจะพายเรือเป็น
และพ่อทำเรือด้วยต้นตาลให้ตอนเป็นเด็ก ให้นักเรียนฟัง
-
ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด
“นักเรียนคิดว่าถ้าไม่ใช้ต้นตาลแล้วจะใช้อะไรข้ามฝั่งได้บ้าง?”
“เรือสมัยก่อนกับสมัยนี้ต่างกันอย่างไร
เพราะอะไรบ้าง?”
-
ครูแนะนำอุปกรณ์
(ดินน้ำมัน) โดยการตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?”
“นำไปทำอะไรได้บ้างไม่ได้บ้าง?”
-
ครูส่งตะกร้าอุปกรณ์ นักเรียนหยิบดินน้ำมันคนละ 1 ก้อน
โดยส่งทางด้านใดด้านหนึ่งจนครบทุกคน
คนสุดท้ายจะวางตะกร้าอุปกรณ์ไว้ด้านหลังตนเอง ก่อนจะรับ –
ส่งอุปกรณ์ทุกคนจะไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม เมื่อได้รับอุปกรณ์แล้วทุกคนจะวางไว้ได้หน้าของตนเอง
-
ครูให้นักเรียนแบ่งดินน้ำมันออกเป็นสองส่วนเท่า ๆ กัน และ
ตั้งคำถามกระตุ้นคิด
“ถ้าส่วนที่หนึ่งของดินน้ำมันคือสิ่งที่นักเรียนอยากปั้น
-
นักเรียนปั้นดินน้ำมันตามความคิดมุมมองและจิตนาการของตนเอง
-
ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนจะพาสิ่งที่ปั้นข้ามแม่น้ำไปได้อย่างไรโดยไม่จมน้ำ?”
-
นักเรียนปั้นดินน้ำมันส่วนที่สองตามความคิดมุมมองและจิตนาการของตนเอง
-
นักเรียนนำเสนอผลงาน โดยการนำไปวางในกะละมังใสน้ำ
ที่ครูจัดเตรียมไว้กลางวงกิจกรรม
-
ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากกิจกรรมนี้บ้าง?”
-
ตัวแทนนักเรียนเก็บผลงานและอุปกรณ์ใส่ตะกร้า
|
|||
ขั้นจบ :
เคารพคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
|
ขั้นจบ : (5 นาที)
- ครูพูดเสริมแรง ชื่นชม Empower ในความตั้งใจของทุกคน
-
ครูและนักเรียนทุกคนไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกัน
|
|||
พฤหัสบดี
|
ขั้นเตรียม :
ฝึกการมีติการรู้ตัว
|
กิจกรรม : บทความ “คนสามคนในตัวเรา”
ขั้นเตรียม : (5 นาที)
- ครูและนักเรียนนั่งเป็นวงกลม
ไหว้ทักทายซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม
- นักเรียนหลับตา กำกับสติ
รับรู้ลมหายใจที่ปลายจมูก ประมาณ 2 นาที พร้อมกระตุ้นการเรียนรู้ Brain
Gym ท่าแบบกำแบ จากนั้นค่อยๆ ลืมตา
|
- บทความ “คนสามคนในตัวเรา”
- ตะกร้าอุปกรณ์ (กระดาษครึ่ง A4 และปากกา)
- เพลงสปาผ่อนคลาย
|
|
ขั้นกิจกรรม :
- ใคร่ครวญ มีสติ จดจ่อกับสิ่งที่ฟัง
- เห็นความเชื่อมโยงเรื่องราวของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับในความคิดเห็นและมุมมองที่แตกต่าง
- เคารพ นอบน้อมต่อสรรพสิ่ง
- ภูมิใจในตนเอง
|
ขั้นกิจกรรม : (15 นาที)
-
ครูเล่า 1 เรื่องเล่า “คนสามคนในตัวเรา” ให้นักเรียนฟัง
-
ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด
“ในเรื่องมีตัวละครในบ้าง?”
“นักเรียนรู้สึกอย่างไร?”
-
ครูส่งตะกร้าอุปกรณ์ นักเรียนหยิบคนละ 1 ชุด (กระดาษครึ่ง A4 1 แผ่น ปากกา 1 ด้าม) โดยส่งทางด้านใดด้านหนึ่งจนครบทุกคน
คนสุดท้ายจะวางตะกร้าอุปกรณ์ไว้ด้านหลังตนเอง ก่อนจะรับ –
ส่งอุปกรณ์ทุกคนจะไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม เมื่อได้รับอุปกรณ์แล้วทุกคนจะวางไว้ด้านหน้าของตนเอง
-
ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “จากเรื่องที่ฟังนักเรียนจะสื่อความหมายเป็นภาพได้อย่างไรและจะตั้งชื่อเรื่องว่าอย่างไร?”
-
นักเรียนวาดภาพเพื่อสื่อความคิดและมุมมอง
-
นักเรียนนำเสนอผลงาน (ภาพและความคิดจากมุมมองของตนเอง)
-
นักเรียนเก็บผลงานและอุปกรณ์ใส่ตะกร้า
โดยเริ่มจากคนที่มีตะกร้าอยู่ด้านหลัง และส่งต่อให้เพื่อนทีละคนจนมาถึงคุณครู ก่อนจะรับ – ส่งอุปกรณ์ทุกคนจะไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม
|
|||
ขั้นจบ :
เคารพคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
|
ขั้นจบ : (5 นาที)
- ครูพูดเสริมแรง ชื่นชม Empower ในความตั้งใจของทุกคน
-
ครูและนักเรียนทุกคนไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกัน
|
|||
ศุกร์
|
ขั้นเตรียม :
ฝึกการมีสติรู้ตัว
|
กิจกรรม : กายสัมผัส
ขั้นเตรียม : (5 นาที)
- ครูและนักเรียนนั่งเป็นวงกลม
ไหว้ทักทายซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม
- นักเรียนหลับตา
จับมือเพื่อนที่อยู่ข้างๆ ค่อยๆ หลับตา รับรู้ลมหายใจที่ปลายจมูก ประมาณ 4-5 ลมหายใจ แล้วลืมตาช้าๆ
- ครูกระตุ้นการเรียนรู้ด้วย Brain Gym 2 ท่า สลับกัน 10
ครั้ง (กอหญ้ากับกระบือ และ กระต่ายกับงูใหญ่)
|
-
ภาพผู้หญิงและผู้ชาย
-
เพลงสปาผ่อนคลาย
|
|
ขั้นกิจกรรม :
-
กำกับสติ จดจ่อกับสิ่งที่ทำ
-
ใคร่ครวญ เห็นความเชื่อมโยง
และมองเห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับสิ่งต่างๆรอบๆตัว
-
เห็นความไม่มีอยู่จริงของร่างกายเรา ความไม่เที่ยงแท้ของชีวิต
-
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
ขั้นกิจกรรม : (15 นาที)
- ครูแนะนำสื่อ
(รูปภาพผู้ชายและผู้หญิง) โดยการตั้งคำถามกระตุ้นคิด
“นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง เหมือนหรือต่างกันอย่าไงไร?”
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ผู้ชายจะเลือกผู้หญิงแบบไหนและเพราะอะไร”
- นักเรียนชายแสดงความคิดเห็นทีละคน
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ผู้หญิงจะเลือกผู้ชายแบบไหนและเพราะอะไร”
- นักเรียนหญิงแสดงความคิดเห็นทีละคน
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “มีวิธีดูได้อย่างไร” และ
“ลักษณะของความจริงใจสามารถพิสูจน์ได้อย่างไร?”
- ครูและนักเรียนแสดงความคิดจากมุมมองของตนเอง
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “แท้จริงแล้วชายหญิงมีอยู่จริงหรือไม่
คิดว่าเพราะอะไร?”
|
|||
ขั้นจบ :
เคารพคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
|
ขั้นจบ : (5 นาที)
- ครูพูดเสริมแรง ชื่นชม Empower ในความตั้งใจของทุกคน
-
ครูและนักเรียนทุกคนไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกัน
|
หมายเหตุ
1 บทความ คนสามคนในตัวเรา
ณ วัดแห่งหนึ่ง หลวงตาเพิ่งกลับจากการบิณฑบาตเห็นลูกศิษย์วัดนั่งร้องไห้สะอึกสะอื้น
จึงเข้าไปถามไถ่ว่าเป็นอะไร ลูกศิษย์ตอบกลับมาว่า "ผมถูกใส่ร้าย ผมไม่ได้ขโมยเงินในหอพระ แต่ผมเข้าไปปัดกวาดเช็ดถูบ่อย ๆ
ทุกคนก็หาว่าผมเป็นขโมย ไม่มีใครเชื่อผมเลย ฮือ ฮือ"
หลวงตานั่งลงข้าง ๆ พยักหน้าเข้าใจแล้วสอนลูกศิษย์ว่า "เจ้ารู้ไหมในตัวเรามีคนอยู่สามคน คนแรกคือ คนที่เราอยากจะเป็น
คนที่สองคือ คนที่คนอื่นคิดว่าเราเป็น คนที่สามคือ ตัวเราที่เป็นเราจริงๆ
ลูกศิษย์หยุดร้องไห้ นิ่งฟังหลวงตา "คนเราล้วนมีความฝัน ความทะเยอทะยานอยาก ตามประสาปุถุชนทั่วไป ไม่ใช่สิ่งเลวร้าย บางครั้งความฝันก็เป็นสิ่งสวยงาม เป็นพลังที่ทำให้เราก้าวเดิน ถ้าถึงจุดหมายเราก็จะรู้สึกว่าโลกนี้ช่างสว่างไสวสวยงาม ดังนั้นเราควรมีความฝันไว้ประดับตน เพื่อเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงหัวใจ "
"มาถึงไอ้ตัวที่สอง จะเป็นเราแบบที่คนอื่นยัดเยียดให้เป็น บางครั้งก็ยัดเยียดว่าเราดีเลิศ จนเราอาย เพราะจิตสำนึกเรารู้ดีว่ามันไม่จริงหรอก แต่เราก็ยิ้มรับแต่บางครั้งไอ้ตัวที่สองนี้ก็มหาอัปลักษณ์ จนไม่อยากจะนึกถึง ซ้ำร้ายยังเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพราะมันเป็นโลกในมือคนอื่น มันเป็นสิ่งแปลกปลอมที่คนอื่นยื่นให้ "
"อย่างคนขับสิบล้อจอดรถอยู่ข้างทางเฉย ๆ เช้ามาพบศพใต้ท้องรถ ก็ต้องขับรถหนี ทั้งที่ศพนั้น ถูกรถชนตายอีกฝั่งแล้วดันถลามาใต้ท้องรถ แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นคนขับสิบล้อ บางคนก็ตัดสินไปแล้วว่าเขาเป็นฆาตกร "
คนที่ชอบนินทานั้นมองคนอื่นด้วยใจที่หยาบช้า ไร้วิจารณญาณ ใจแคบ มองคนอื่นผ่านกระจกสีดำแห่งใจตัวเอง คนเหล่านี้มีอยู่ทั่วไปในสังคม เจ้าต้องจำไว้นะ ทุกครั้งที่เราว่าคนอื่นเลว คนอื่นไม่ดี ก็เท่ากับเราประจานความมืดดำในใจตัวเองออกมา เห็นสิ่งไม่ดีของใครจงเตือนตัวเองว่าอย่าทำ อย่าเลียนแบบ นั่นแหละวิถีของนักปราชญ์ ถ้าเอาไปว่าร้ายนินทาเรียกว่าวิถีของคนพาล "
"แล้วเราต้องทำตัวอย่างไรละครับในเมื่อเราต้องเจอคนเหล่านั้นเรื่อย ๆ " ลูกศิษย์หยุดร้องไห้แล้ว เริ่มสนทนาโต้ตอบหลวงตา
"เจ้าต้องทำความเข้าใจจิตใจมนุษย์ เรียนรู้ว่าความเข้าใจผิดเกิดขึ้นได้ เราห้ามใจใครไม่ได้ สิ่งใดที่เราไม่ได้ทำไม่ได้คิด ไม่ได้เป็น แต่คนอื่นคอยยัดเยียดให้เรา เราก็ไม่ควรให้ความสำคัญ เพราะเราสัมผัสได้ว่าสิ่งนั้นไม่มีอยู่จริง ใจเราควรสงบนิ่ง ใจคนอื่นต่างหากที่ควรซักฟอกให้ขาวสะอาดกว่าที่เป็นอยู่ เขาเหล่านั้นเป็นบุคคลที่น่าสงสารมีเวลามองคนอื่น แต่ไม่มีเวลามองตัวเอง จงแผ่เมตตาให้เขาไป เข้าใจใช่ไหม "
หลวงตานั่งลงข้าง ๆ พยักหน้าเข้าใจแล้วสอนลูกศิษย์ว่า "เจ้ารู้ไหมในตัวเรามีคนอยู่สามคน คนแรกคือ คนที่เราอยากจะเป็น
คนที่สองคือ คนที่คนอื่นคิดว่าเราเป็น คนที่สามคือ ตัวเราที่เป็นเราจริงๆ
ลูกศิษย์หยุดร้องไห้ นิ่งฟังหลวงตา "คนเราล้วนมีความฝัน ความทะเยอทะยานอยาก ตามประสาปุถุชนทั่วไป ไม่ใช่สิ่งเลวร้าย บางครั้งความฝันก็เป็นสิ่งสวยงาม เป็นพลังที่ทำให้เราก้าวเดิน ถ้าถึงจุดหมายเราก็จะรู้สึกว่าโลกนี้ช่างสว่างไสวสวยงาม ดังนั้นเราควรมีความฝันไว้ประดับตน เพื่อเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงหัวใจ "
"มาถึงไอ้ตัวที่สอง จะเป็นเราแบบที่คนอื่นยัดเยียดให้เป็น บางครั้งก็ยัดเยียดว่าเราดีเลิศ จนเราอาย เพราะจิตสำนึกเรารู้ดีว่ามันไม่จริงหรอก แต่เราก็ยิ้มรับแต่บางครั้งไอ้ตัวที่สองนี้ก็มหาอัปลักษณ์ จนไม่อยากจะนึกถึง ซ้ำร้ายยังเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพราะมันเป็นโลกในมือคนอื่น มันเป็นสิ่งแปลกปลอมที่คนอื่นยื่นให้ "
"อย่างคนขับสิบล้อจอดรถอยู่ข้างทางเฉย ๆ เช้ามาพบศพใต้ท้องรถ ก็ต้องขับรถหนี ทั้งที่ศพนั้น ถูกรถชนตายอีกฝั่งแล้วดันถลามาใต้ท้องรถ แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นคนขับสิบล้อ บางคนก็ตัดสินไปแล้วว่าเขาเป็นฆาตกร "
คนที่ชอบนินทานั้นมองคนอื่นด้วยใจที่หยาบช้า ไร้วิจารณญาณ ใจแคบ มองคนอื่นผ่านกระจกสีดำแห่งใจตัวเอง คนเหล่านี้มีอยู่ทั่วไปในสังคม เจ้าต้องจำไว้นะ ทุกครั้งที่เราว่าคนอื่นเลว คนอื่นไม่ดี ก็เท่ากับเราประจานความมืดดำในใจตัวเองออกมา เห็นสิ่งไม่ดีของใครจงเตือนตัวเองว่าอย่าทำ อย่าเลียนแบบ นั่นแหละวิถีของนักปราชญ์ ถ้าเอาไปว่าร้ายนินทาเรียกว่าวิถีของคนพาล "
"แล้วเราต้องทำตัวอย่างไรละครับในเมื่อเราต้องเจอคนเหล่านั้นเรื่อย ๆ " ลูกศิษย์หยุดร้องไห้แล้ว เริ่มสนทนาโต้ตอบหลวงตา
"เจ้าต้องทำความเข้าใจจิตใจมนุษย์ เรียนรู้ว่าความเข้าใจผิดเกิดขึ้นได้ เราห้ามใจใครไม่ได้ สิ่งใดที่เราไม่ได้ทำไม่ได้คิด ไม่ได้เป็น แต่คนอื่นคอยยัดเยียดให้เรา เราก็ไม่ควรให้ความสำคัญ เพราะเราสัมผัสได้ว่าสิ่งนั้นไม่มีอยู่จริง ใจเราควรสงบนิ่ง ใจคนอื่นต่างหากที่ควรซักฟอกให้ขาวสะอาดกว่าที่เป็นอยู่ เขาเหล่านั้นเป็นบุคคลที่น่าสงสารมีเวลามองคนอื่น แต่ไม่มีเวลามองตัวเอง จงแผ่เมตตาให้เขาไป เข้าใจใช่ไหม "
ตัวอย่างกิจกรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น